สมัครเพื่อรับจดหมายข่าวจากเรา

 

61 ประชาชื่น
Bangkok, Krung Thep Maha Nakhon, 10800
Thailand

0818888877

มวยไท่เก๊ก หรือ ไท้เก๊ก หรือ ไท่จี๋ หรือ ไท้จี๋ หรือบางคนเขียนเป็น ไทชิ, ไทจิ, ไทเก๊ก, ไทเก็ก, หรือแม้แต่ไท้กิ๊บก็มี ภาษาอังกฤษก็มีทั้งที่เขียนว่า taiji, taichi, t'aichi เป็นวิทยายุทธที่มีต้นกำเนิดจากจีนแผ่นดินใหญ่ และมีการสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน แตกแยกย่อยเป็นสายต่างๆ มากมาย จนแทบหาต้นตอที่แท้จริง ไม่ได้ หากแต่ละสายยังยึดหลักการเดียวกัน คือการเน้นความอ่อน เบา ต่อเนื่อง อาศัยจิตและสมาธิในการควบคุมพลังและกระบวนท่า การฝึกอาศัยความเบา ช้า กลม และสม่ำเสมอ เรียงร้อยกันเป็นกระบวนท่า

ปัจจุบันมวยไท่เก๊กที่นิยมฝึกกันอยู่มี 5 ตระกูลหลัก คือ เฉิน, หยาง, อู๋, อู่ และ ซุน

มวยหยางสายต่ง

อาจารย์ ต่ง อิ๋ง เจี๋ย Great Master Dong Ying Chieh, (Kai Ying, 2012)

อาจารย์ ต่ง อิ๋ง เจี๋ย Great Master Dong Ying Chieh, (Kai Ying, 2012)

 

ประวัติการเผยแพร่มวยไท่จี๋เฉวียนในประเทศไทย

ไท่จี๋เฉวียน หรือไท่จี๋ เป็นภาษาจีนกลาง ส่วนคนไทยจะรู้จักและนิยมเรียกว่า มวยไท่เก๊ก ซึ่งเป็นชื่อเรียกภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งทั้งสองคำนี้มีความหมายอย่างเดียวกัน

ก่อนหน้าปี พ.ศ 2492 ยังไม่ปรากฎว่ามีการเรียนการสอนมวยไท่จี๋เฉวียนกันในประเทศไทยแต่อย่างใด จนในราวปีเดียวกันนี้ ได้มีคหบดีเชื้อสายจีนกลุ่มหนึ่งสนใจอยากจะเรียนมวยไท่จี๋เฉวียนเพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพ โดยทราบว่า ท่านต่งอิงเจี๋ยเป็นศิษย์เอกของมวยไท่จี๋สายตระกูลหยาง จึงได้ขอให้ท่านหลิ่มซิมหงอ เป็นตัวแทนไปเชิญท่านต่งอิงเจี๋ย เดินทางมาสอนมวยไท่จี๋ในประเทศไทย ท่านต่งอิงเจี๋ยได้เดินทางมากรุงเทพฯ เพื่อทำการสาธิตมวยไท่จี๋เฉวียน และสอนมวยเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เนื่องจากท่านมีภารกิจอื่น ท่านจึงได้ให้บุตรของท่าน คือท่านต่งหูหลิ่งเดินทางมาสอนอย่างเป็นทางการ โดยค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าที่พัก อาหารการกินและค่าครู คณะผู้บุกเบิกซึ่งมีทั้งหมด 7 ท่านรวมทั้งท่านหลิ่มซิวหงอได้ร่วมลงขันจ่ายไป รวมทั้งหมดประมาณ 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาท) ซึ่งนับว่าเป็นเงินจำนวนมากในยุคเมื่อ 50 ปีที่แล้ว 

 

นับว่าตระกูลต่งมีคุณูปการต่อวงการไท่จี๋เฉวียนในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง ส่วนทั้งท่านหลิ่มซิวหงอและคณะที่ไปเชิญท่านต่งอิงเจี๋ยมาก็นับว่าเป็นผู้แผ้วทางให้มวยไท่จี๋เฉวียนหยั่งรากอันมั่นคงลงในประเทศไทย ศิษย์ของท่านต่งหูหลิ่งมีอยู่มากมาย เนื่องจากท่านเดินทางมาสอนมวยไท่จี๋เฉวียนอยู่นานหลายปี ซึ่งบรรดาศิษยานุศิษย์เหล่านี้ก็ได้นำมวยไท่จี๋ที่ร่ำเรียนมาไปถ่ายทอดให้กับผู้สนใจรุ่นหลัง จนมวยหยางไท่จี๋เฉวียนที่แพร่หลายออกไปในแทบทุกจังหวัดของเมืองไทยล้วนมีที่มาจากลูกศิษย์ของท่านต่งอิงเจี๋ยและต่งหูหลิ่งทั้งสิ้น

 

ข้อมูลเพิ่มเติม:-  


อาจารย์ทวด ต่งหูหลิ่ง (Dong Hu Ling) ถ่ายรูปคู่กับ อาจารย์ปู่ หม่า จิ่น ชวน (Ma Jin Chuan)

อาจารย์ทวด ต่งหูหลิ่ง (Dong Hu Ling) ถ่ายรูปคู่กับ อาจารย์ปู่ หม่า จิ่น ชวน (Ma Jin Chuan)

อาจารย์ต่งจี้อิงมาสอนมวยไท่จี๋ที่เมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. 2525.  เครดิตภาพจาก หนังสือ Learning Tai Chi Chuan โดย อ. ต่งจี้อิง, 2012.

อาจารย์ต่งจี้อิงมาสอนมวยไท่จี๋ที่เมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. 2525.  เครดิตภาพจาก หนังสือ Learning Tai Chi Chuan โดย อ. ต่งจี้อิง, 2012.